กระบวนการผลิตแว๊กซ์จากน้ำมันปิโตรเลียม
(Petroleum
Wax Process)
แว๊กซ์หรือไขที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมนั้น
จะได้มาจากกระบวนการผลิตน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานจากน้ำมันปิโตรเลียม
โดยเริ่มจากจะต้องเลือกใช้น้ำมันดิบประเภท Paraffinic Base Oil หรือ Naphthenic Base Oil ซึ่งวัตถุดิบสำหรับการผลิตน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานหรือ
Lube Base Oil ก็คือ
กากที่เหลือจากการกลั่นภายใต้หอกลั่นบรรยากาศหรือ Long Residue โดยมีกระบวนการและขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. กระบวนการกลั่นแบบลำดับส่วน
(Fractional
Distillation)
น้ำมันดิบจากถังเก็บจะถูกสูบด้วยเครื่องสูบขนาดใหญ่ที่มีความดันสูงผ่านเครื่องถ่ายเทความร้อนจนได้อุณหภูมิสูงเพื่อเข้าสู่หน่วยกำจัดเกลือ
(Desalter) เพื่อทำการแยกน้ำและเกลือที่ติดมากับน้ำมันดิบออก
จากนั้นน้ำมันดิบจะผ่านเข้าเตาเพื่อเพิ่มอุณหภูมิความร้อนประมาณ 315-371 องศาเซนเซียส หรือประมาณ 600-700 องศาฟาเรนไฮต์
น้ำมันดิบที่ร้อนและไอร้อนจะไหลผ่านเข้าไปสู่ตอนล่างของหอกลั่นบรรยากาศ
(Atmospheric Fractionation Tower)
1.1 หอกลั่นบรรยากาศ (Atmospheric Fractionation Tower)
คือ
กระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมซึ่งทำการกลั่นแยกประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีจุดเดือดต่ำ
จากการกลั่นในหอกลั่นบรรยากาศจะได้ผลิตภัณฑ์ก๊าซ, น้ำมันเบนซิน,
น้ำมันเครื่องบิน,น้ำมันก๊าด, น้ำมันดีเซล และ
กากส่วนที่เหลือจากการกลั่นภายใต้หอกลั่นบรรยากาศ หรือ กากบรรยากาศ ที่เรียกว่า Long
Residue หรือ Atmospheric Residue หรือ Top
Crude ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานหรือ Lube
Base Oil น้ำมันตัวนี้จะถูกไปกลั่นต่อที่หอกลั่นสุญญากาศ
(Vacuum Fractionation Tower) ต่อไป
หอกลั่นบรรยากาศ (Atmospheric
Fractionation Tower)
องค์ประกอบต่างๆ
|
จุดเดือด
(oC)
|
สถานะ
|
จำนวนคาร์บอนอะตอมในโมเลกุล
|
ก๊าซปิโตรเลียม
|
ต่ำกว่า
30
|
ก๊าซ
|
1-4
|
น้ำมันเบนซิน
|
0-65
|
ของเหลว
|
5-6
|
แนพธา
|
65-170
|
ของเหลว
|
6-10
|
น้ำมันก๊าด
|
170-250
|
ของเหลว
|
10-14
|
น้ำมันดีเซล
|
250-340
|
ของเหลว
|
14-19
|
น้ำมันหล่อลื่น
|
340-500
|
ของเหลว
|
19-35
|
ไข
|
340-500
|
ของแข็ง
|
19-35
|
น้ำมันเตา
|
สูงกว่า
500
|
ของเหลว
|
มากกว่า
35
|
บีทูเมน
|
สูงกว่า
500
|
ของแข็ง
|
มากกว่า
35
|
สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วนของน้ำมันดิบ
1.2
หอกลั่นสุญญากาศ
(Vacuum
Fractionation Tower)
คือ
หอกลั่นซึ่งทำการกลั่นแยกประเภทน้ำมันหล่อลื่นที่มีจุดเดือดสูง
ซึ่งต้องนำกากส่วนที่เหลือจากการกลั่นภายใต้หอกลั่นบรรยากาศ
ที่เรียกว่า Long
Residue ชองน้ำมันดิบซึ่งจะนำมากลั่นในหอกลั่นสุญญากาศแยกส่วนก๊าซออยล์สุญญากาศออกเป็นส่วนๆตามค่าความหนืดหรือความข้นใสของน้ำมัน
โดยแบ่งออกเป็น 3-4 เกรด ตั้งแต่ชนิดใสจนถึงชนิดข้น และกากส่วนที่เหลือจากการกลั่นภายใต้หอกลั่นสุญญากาศ
หรือกากสุญญากาศ ที่เรียกว่า Short Residue ซึ่งต้องนำไปสกัดเอาส่วนยางมะตอยออกต่อไป
หอกลั่นสุญญากาศ
(Vacuum
Fractionation Tower)
2. กระบวนการแยกแอสฟัลต์
(Deasphalting)
คือ
การนำกากส่วนที่เหลือจากการกลั่นภายใต้หอกลั่นสุญญากาศ หรือกากสุญญากาศ
ที่เรียกว่า Short Residue มาสกัดเอาส่วนยางมะตอยออกไปเสียก่อน
โดยการสกัดนี้ใช้ตัวทำละลายเป็นโพรเพนซึ่งจะทำให้ยางมะตอยตกตะกอนออก
เหลือน้ำมันข้นที่เรียกว่า Bright Stock สำหรับนำไปทำน้ำมันเครื่องต่อไป
กระบวนการแยกแอสฟัลต์
(Deasphalting)
3. กระบวนการสกัดด้วยตัวทำละลาย (Solvent Extraction)
คือ
กระบวนการขจัดสารอะโรมาติกส์ แนฟทาลีน และสิ่งสกปรกในน้ำมันออกด้วยตัวละลาย
ตัวทำละลายที่นิยมใช้กันมากในการสกัด คือ ฟีนอล (Phenol) และ เฟอร์ฟูรัล (Furfural)
เพื่อปรับปรุงดัชนีความหนืดเพื่อทำให้ค่าความหนืดของน้ำมันไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปมากเมื่ออุณหภูมิของน้ำมันเปลี่ยนไป
กระบวนการสกัดด้วยตัวทำละลาย
(Solvent
Extraction)
4. กระบวนการตกผลึก
(Solvent
Dewaxing)
คือ
การขจัดเอาไขขี้ผึ้งออกด้วยกระบวนการ “Dewaxing”
เพื่อลดจุดไหลเทลงให้ต่ำ กระบวนการนี้มักใช้เมททิลเอททิลคีโทน (Methyl
Ethyl Ketone or MEK) เป็นตัวทำละลาย
นำไขขี้ผึ้งที่ได้ซึ่งประกอบด้วยสารพาราฟินโมเลกุลใหญ่ๆซึ่งจะตกผลึกออกมาเมื่อทำให้เย็นลง
ไขที่แยกออกมาเรียกว่า “สแลค แว็กซ์” (Slack
Wax) ซึ่งยังมีปริมาณน้ำมันในแว็กซ์ (Oil Content) สูงอยู่ จึงต้องนำไปทำให้บริสุทธิ์เป็นพาราฟิน
แว็กซ์ก่อนด้วยการผ่านกระบวนการ “Sweating Process”
กระบวนการตกผลึก
(Solvent
Dewaxing)
5. กระบวนการสเวตติ้ง
โพรเซส
(Sweating
Process)
คือ การนำสารป้อน (
Fees Stock) คือ “สแลค แว็กซ์” (Slack Wax) ที่ได้มาจากกระบวนการตกผลึกมาทำให้ไขร้อนค่อยๆขึ้นทีละน้อย
โดยแรกๆไขที่มีจุดหลอมตัวต่ำ และน้ำมันก็จะไหลออกไปก่อน
ต่อเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นไปอีกไขที่มีจุดหลอมตัวสูงก็จะไหลออกตาม
โดยการควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม จะทำให้ไข Sweating Process
บริสุทธิ์โดยกำจัดน้ำมันที่ติดมา ที่เรียกว่า “Foot Oil” ออกจนเหลือน้ำมันอยู่น้อยกว่า
0.5%wt หรือตามค่ามาตรฐานของพาราฟิน แว็กซ์ Gradeอื่นๆที่สามารถนำมาใช้ทำเทียนและใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอื่นๆ
ซึ่งจากกระบวนการนี้จะได้ผลิตภัณฑ์แว็กซ์ 2 ชนิด คือ
1. พาราฟิน
แว็กซ์ (Paraffin Wax)
2. ไมโครคิสตัลไลน์
แว็กซ์ (Microcrystalline Wax) หรือ ไมโคร แว็กซ์ (Micro
Wax)
กระบวนการสเวตติ้ง
โพรเซส (Sweating
Process)
แหล่งอ้างอิง
หนังสือปิโตรเลียมเทคโนโลยี
ฉบับปี 2005 /
ศ.ดร.ปราโมทย์ ไชยเวช
PETROLEUM WAX & VASELINE PLANT.pdf /Q_iso
Technology Co.,Ltd. Seoul, Korea
Best Casino in New Jersey - DrmCD
ตอบลบBest Casino in New Jersey. Dr. Jill Wynn's New Jersey, USA · #10: 김제 출장안마 Hotel Casino 남양주 출장안마 in 강원도 출장안마 Atlantic City · #9: Caesars 용인 출장샵 Casino & Spa · #8: Borgata 전라남도 출장샵 Casino